การจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์
07 Aug 2019
เมื่อการทำงานของธุรกิจเติบโตมากขึ้น หลายๆ องค์กรจึงเลือกที่จะนำบริษัทของตนเองเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นในการเติบโตและพัฒนา ทั้งในด้านเงินทุน การส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านความโปร่งใสที่ทำให้เห็นถึงการทำงานของธุรกิจที่ได้รับมาตรฐาน ซึ่งก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในอนาคตมากขึ้นจนอาจมีอำนาจในการต่อรอง และเกิดการขยายตัวทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องและสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่บริษัทมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การเข้าตลาดหลักทรัพย์ยังได้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอีกด้วยคุณสมบัติของการเข้าจดทะเบียน
บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์จะต้องมีความโปร่งใส โดยไม่ขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือทำให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม บริษัทจะสามารถระดมทุนจากการเสนอขายหุ้นให้ประชาชน (Initial public offering: IPO) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ต้องเป็นบริษัทมหาชน และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดี
การที่บริษัทจะสามารถระดมทุนจากการเสนอขายหุ้นให้ประชาชน (Initial public offering: IPO) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ บริษัทต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายด้าน และต้องดำเนินการตามกฎหมาย ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสรุปเรื่องสำคัญที่บริษัทต้องเตรียมความพร้อมก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนและเข้าจดทะเบียน ดังนี้
เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของกรรมการ | - กรรมการ ผู้บริหารเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนตาม พรบ.หลักทรัพย์ฯ - โครงสร้างกรรมการมีการตรวจสอบ ถ่วงดุล - คุณสมบัติและการเลือกกรรมการที่มีทักษะ ประสบการณ์ และเวลาที่จะให้แก่บริษัทได้ |
จัดโครงสร้างธุรกิจ | - จัดโครงสร้างธุรกิจให้ชัดเจน เพื่อลดโอกาสที่อาจจะเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ - การดำเนินงานโปร่งใส ตรวจสอบได้ ขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ - ดูความเหมาะสมของรายการกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง |
เตรียมระบบควบคุมภายใน | - ระบบการควบคุมภายในที่ดี (Check and Balance) - การมอบอำนาจเพื่อดำเนินการต่างๆ |
เตรียมระบบบัญชี | - เตรียมความพร้อมงบการเงิน จัดทำตามมาตรฐานบัญชี - เตรียมความพร้อมให้กับสมุห์บัญชีและ CFO |
ให้ความร่วมมือกับ FA และ Auditor | - จัดให้ FA ทำงานร่วมกับ Auditor - Pre-consult ประเด็นต่างๆ ก่อนยื่น IPO |
การเตรียมตัวและระยะเวลาเตรียมการ
ระยะเวลาเตรียมการ | การเตรียมตัว |
---|---|
18 - 24 เดือน ก่อนยื่นคำขอ | - ศึกษาข้อมูลและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด เกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน เกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการรับหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียน - คัดเลือก ที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อช่วยเหลือในด้านการให้คำปรึกษาและการเตรียมการ - ให้ข้อมูลรายละเอียดแก่ที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ และปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง - วางแผนการจัดเตรียมข้อมูลและตารางเวลาดำเนินการ - จัดโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท และกลุ่มบริษัทให้ปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และเตรียมการให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี - แต่งตั้ง ผู้สอบบัญชี ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อจัดเตรียมงบการเงินและข้อมูลทางบัญชีในรูปแบบที่ถูกต้องตามมาตรฐาน - แต่งตั้ง ผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อประเมิน ปรับปรุง ระบบควบคุมภายใน - แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบ - ซ้อมจัดทำงบการเงินอย่างน้อย 2 ไตรมาส ให้แน่ใจว่าทำได้ทันตามกำหนดเวลา |
6 เดือน ก่อนยื่นคำขอ | - จัดเตรียมเอกสารสำหรับยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต./ ตลาดหลักทรัพย์ฯ - นัดหารือประเด็นที่สำคัญ (Pre-consult) กับสำนักงาน ก.ล.ต./ ตลาดหลักทรัพย์ฯ - วางแผนและศึกษาการกำหนดราคาและจัดจำหน่ายหุ้น - จัดเตรียมแผนประชาสัมพันธ์ |
1-2 เดือน ก่อนยื่นคำขอ | - การแปรสภาพบริษัทเป็นบริษัทมหาชนจำกัด - จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ - แต่งตั้ง นายทะเบียนหลักทรัพย์ - ร่วมวางแผนกำหนดการที่สำคัญ เช่น การตรวจ Working paper ของ FA / Auditor การเยี่ยมชมกิจการและตอบข้อซักถามของสำนักงาน ก.ล.ต. - จัดเตรียมเอกสารสำหรับยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ / สำนักงาน ก.ล.ต. |
- ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ / ยื่นคำขอเสนอขายหุ้น IPO ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. - เตรียมการเรื่องการเยี่ยมชมกิจการ และตอบข้อซักถามของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ สำนักงาน ก.ล.ต. - เสนอขายหุ้นแก่ประชาชน - เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ |
หมายเหตุ : ระยะเวลาเตรียมการดังกล่าวเป็นระยะเวลาโดยประมาณภายใต้สมมติฐานว่าบริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าจดทะเบียนอยู่แล้ว โดยอาจมีเรื่องที่ต้องดำเนินการหรือปรับปรุงแก้ไขไม่มากนัก